top of page
Search
  • VLine

ท่อพีวีซีราคาเท่าไรกันนะ – ไขปัญหาทำไมราคาท่อไม่เท่ากัน

Updated: Sep 6, 2019

ท่อพีวีซีมีตั้งหลายขนาด และหลายผู้ผลิต


สำหรับราคาท่อส่วนมากก็จะดังนี้ครับ


ราคาตั้งท่อพีวีซีขนาดทั่วไป


ท่อพีวีซี ½” - ชั้น 8.5 ราคา 42บาท | ชั้น 13.5 ราคา 53 บาท

ท่อพีวีซี ¾” - ชั้น 8.5 ราคา 53บาท | ชั้น 13.5 ราคา 64 บาท

ท่อพีวีซี 1” - ชั้น 8.5 ราคา 70บาท | ชั้น 13.5 ราคา 101 บาท


แต่ตัวอย่างข้างบนเป็นแค่ราคาท่อพีวีซีขนาดที่ขายดีที่สุดนะครับ แต่แค่สามขนาดก็ดูยากแล้ว ในวันนี้เรามาศึกษาเรื่องปัจจัยที่ทำให้ราคาท่อพีวีซีต่างกัน เพื่อที่จะช่วงให้ทุกคนซื้อท่อได้ในราคาทีเหมาะสมที่สุดครับ

ท่อพีวีซีราคาเท่าไรกันนะ


ราคาท่อพีวีซีขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัย ซึ่งก็คือขนาดของท่อพีวีซี ชั้นความดันท่อพีวีซี แบรนด์ผู้ผลิต ตัวแทนจัดจำหน่าย และ จำนวนซื้อแต่ละครั้ง ท่อพีวีซีมีราคากลางหรือราคาขายปลีกที่ผู้ผลิตแนะนำอยู่ แต่ส่วนมากหากเราไปซื้อท่อตามร้านวัสดุก่อสร้างหรือจากโรงงานโดยตรงเราอาจจะได้ส่วนลดจากราคากลางตั้งแต่ 5% ถึง 30% เลยก็ได้


สำหรับคนที่ไม่รู้เรื่องท่อมาก่อน มันอาจจะยากที่จะเริ่มทำความเข้าใจข้อมูลพวกนี้ ปัจจัยที่ผมเขียนมาวันนี้จะเรียงตามความยากง่ายในการเข้าใจและหาข้อมูลนะครับ บางอย่างเราสามารถดูจากตัวท่อหรือถามผู้จำหน่ายได้เลยเพราะเป็นข้อมูลมาตรฐาน แต่บางอย่างเราก็ต้องเทียบข้อมูลจากหลายร้านค้าเพื่อดูอีกที

ขนาดของท่อพีวีซี

สิ่งที่เข้าใจง่ายที่สุดในการซื้อท่อพีวีซีก็คือ ท่อยิ่งขนาดใหญ่ราคายิ่งแพง ซึ่งก็เข้าใจได้ใช่ไหมครับเพราะสินค้าที่มีขนาดใหญ่ก็ต้องใช้วัตถุดิบเยอะกว่า ขนส่งและจัดเก็บก็ยากกว่าด้วย


ท่อพีวีซีที่ใช้ในบ้านทั่วไปจะมีขนาดตั้งแต่ ½” (บางคนเรียก 4 หุน) ถึง 4” โดยแต่ละขนาดก็จะมีการใช้งานไม่เหมือนกัน


ท่อที่มีขนาดเล็กก็จะใช้ในระบบน้ำดี ต่อเข้าก๊อกน้ำหรืออ่างล้างมือเป็นต้น แต่ท่อขนาดใหญ่ก็จะใช้ในท่อน้ำทิ้งหรือท่อโสโครก


ขนาดท่อพีวีซีจริงๆมีแบบใหญ่ 5”, 6”, 8”, 10”, 12” ไปถึง 24” เลย ยิ่งขนาดใหญ่ก็ยิ่งแพงและยิ่งหายาก ส่วนมากไว้ใช้ในโครงการใหญ่ๆเท่านั้น สำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็ไม่ต้องกังวลมากก็ได้

ชั้นความดันของท่อพีวีซี

ท่อแต่ละขนาดก็จะมี ‘ชั้นความดัน’ ไม่เท่ากัน และมันก็สำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจความหมายของชั้นความดันนี้


เพราะชั้นความดันจะเป็นตัวบอกว่าท่อพีวีซีรับแรงดันน้ำได้เท่าไร มีตั้งแต่ชั้น 5 ชั้น 8.5 และชั้น 13.5 อธิบายสั้นๆก็คือยิ่งตัวเลขเยอะยิ่งรับความดันน้ำได้เยอะ ท่อชั้นความดันเยอะก็จะทนกว่าแต่ก็แพงกว่าท่อชั้นความดันน้อย 20-30% เลย


ถ้าถามว่าใช้แทนกันได้ไหม คำตอบก็คือเอาท่อชั้นความดันน้อยมาใช้ในงานความดันสูงท่อก็จะแตก หรือถ้าเอาท่อความดันสูงมาใช้ในงานความดันน้อยก็จะเสียเงินมากเกินจำเป็นไปนิดหน่อย (ถ้าซื้อไม่กี่พันบาทอาจจะพอรับได้)


บางคนเรียกชั้นความดันว่าท่อหนา หรือท่อบาง แต่ผมแนะนำว่าเวลาไปซื้อตามร้านใช้ตัวเลข 5, 8.5, 13.5 ไปเลยจะได้เข้าใจกันถูก เพราะถ้าซื้อผิดแล้วจะลำบากภายหลัง


แบรนด์ผู้ผลิต

ท่อพีวีซีมีผู้ผลิตหลาบแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น ตราช้างSCG ตราท่อน้ำไทย และตรา VNT เป็นต้น ท่อแต่ละโรงงานผู้ผลิตก็จะราคาไม่เท่ากัน


ผู้รับเหมาหรือเจ้าของโครงการบางคนก็อาจจะนิยมชอบใช้ท่อยีห้อดัง เพราะมั่นใจในคุณภาพได้

หรือถ้าเราใช้เวลามากหน่อยหาท่อโรงงานเล็กที่มีงบเข้าถึงลูกค้าน้อยกว่าเจ้าใหญ่ก็อาจจะได้ราคาที่ดีกว่า


โดยปกติแล้วท่อพีวีซีทุกโรงงานจะมี ‘ราคาตั้ง’ เท่ากันแต่ส่วนลดต่างกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราไปดู Pricelist ตามเว็บต่างๆก็ไม่ต้องแปลกใจที่ราคาแต่ละโรงงานเท่ากันนะครับ

ผู้จัดจำหน่ายท่อพีวีซี

ตัวแทนจำหน่ายคือร้านค้าที่รับท่อมาจากผู้ผลิตอีกทีหนึ่งเพื่อจัดจำหน่ายส่งให้ลูกค้าทั่วไป


โรงงานอย่าง SCG หรือน้ำไทยจะไม่จัดจำหน่ายหาลูกค้าโดยตรง แต่บางโรงงานก็จัดจำหน่ายเองด้วยถ้าซื้อมีจำนวน


แน่นอนว่าตัวแทนจำหน่ายที่รับสินค้าตรงจากโรงงานก็จะได้มาในราคาที่ถูกกว่า เลยทำให้สามารถขายได้ในราคาที่ดีกว่า


แต่ก็ไม่ใช่ทุกร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายตรง บางทีบางร้านก็รับจากคนอื่นมาอีกที ทำให้ราคาแพงกว่า

ซึ่งเฉลี่ยแล้วท่อตราช้าง หรือน้ำไทยจะขายส่วนลดอยู่ประมาณ 5-10% และท่อตรา VNT จะอยู่ที่ 20-30% ครับ


จำนวนซื้อของท่อพีวีซี


ข้อนี้อาจจะสำคัญน้อยสุดสำหรับคนซื้อทั่วไปเพราะจะซื้อในปริมาณน้อยหรือไม่ได้ซื้อบ่อยขนาดนั้น แต่ถ้าคุณซื้อบ่อยหรือซื้อเยอะ คุณก็อาจจะสามารถต่อรองขอส่วนลดได้มากขึ้นอีกประมาณ 3-5% สำหรับแต่ละแบรนด์เลย แต่จากประสบการณ์ของผมแบรนด์ใหญ่อย่างตราช้างหรือน้ำไทยลดราคาค่อนข้างยากเพราะร้านค้าก็รับมาในราคาที่สูงอยู่แล้ว


ข้อแนะนำก่อนซื้อท่อพีวีซี

ก่อนที่จะดูราคาท่อพีวีซีให้ดูให้ครบก่อนว่าเราต้องใช้ท่อขนาดเท่าไร ชั้นความดันเท่าไร จำนวนเท่าไร และ แบรนด์อะไร


ถ้าเราไม่เตรียมข้อมูลพวกนี้ไว้ก่อน เราอาจจะไม่สามารถขอข้อมูลที่ดีที่สุด หรือราคาที่เหมาะสมที่สุดได้


ผมเขียนบทความนี้เพราะอยากช่วงให้ผู้ใช้หรือผู้จัดซื้อท่อสามารถเลือกหาท่อที่มีราคาเหมาะสมที่สุดกับการใช้งาน ซึ่งจะช่วยประหยัดราคาค่าระบบประปาได้เยอะมาก บางคนเลือกท่อเกินราคาที่จ่ายมากเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว


ซึ่งปัญหาการซื้อท่อเกินราคาส่วนมากจะเกิดจากการสื่อสารกันไม่เข้าใจระหว่างคนซื้อ คนออกแบบระบบ กับคนขาย


ปัญหาส่วนมากที่ผู้ซื้อเจอกับคนออกแบบระบบ


1. ให้ข้อมูลไม่ครบ – ผมเข้าใจว่าผู้รับเหมาหรือผู้ออกแบบบางคนมีงานยุ่ง บางทีก็อาจจะลืมให้ข้อมูลคนจัดซื้อมาไม่ครบ ซึ่งข้อนี้เป็นปัญหากาสื่อสารระหว่างสองทีมที่ต้องแก้กัน แต่ในระยะสั้นถ้าคุณต้องซื้อท่อบ่อยๆผมก็แนะนำให้ศึกษาเรื่องเนื้องานและวิธีการดูสเปคสินค้าไว้ด้วย


2. สรุปราคาเองโดยไม่ยอมเสนอตัวเลือกของคนขายอื่น – คนออกแบบระบบบางคนจะมีร้านค้าแนะนำ ซิ่งส่วนมากก็จะเป็นร้านที่เค้าซื้อบ่อยและไว้ใจในคุณภาพหรือการบริการ หากเราโอเคกับราคาท่อที่เค้าเสนอมาก็แล้วไป แต่ส่วนมากเจ้าของโครงการหรือฝ่ายจัดซื้อก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบราคาและเทียบกับร้านอื่นด้วย พอรวมกับปัญหาการสื่อสารในข้อ 1 แล้วก็ทำให้ขั้นตอนมันยากขึ้นไปอีก


ปัญหาส่วนมากที่ผู้ซื้อเจอในร้านขายท่อคือ


1. ลูกค้าไม่รู้ว่าชั้นความดันท่อเท่าไร (บางคนไม่รู้ว่าชั้นความดันคืออะไรด้วย) – อาจจะเป็นเพราะว่ารับข้อมูลมาจากผู้รับเหมามาแล้วไม่ได้สเปคสินค้าทั้งหมด แต่ก็เหมือนที่ผมบอกก็คือราคาท่อแต่ละชั้นความดันมันต่างกัน 20-30% เลยทีเดียว ข้อแนะนำก็คือให้ถามสเปคจากช่างมาก่อน หรืออย่างน้อยก็ควรพยายามหาข้อมูลว่างานท่อนี้ใช้ทำอะไร (ท่อน้ำดี ท่อโสโครก ท่อฝังดินหรือเปล่า) ร้านค้าจะได้ช่วยจัดรายการให้ได้บ้าง


2. ลูกค้าไม่รู้ว่าจำนวนเท่าไร (บอกได้แค่จำนวนมาก หรือขอราคาเส้นเดียว) – ร้านขายวัสดุก่อสร้างบางร้านขายทั้งแบบปลีกและส่ง บางคนรับออเดอร์หลักพันบาท บางคนรับหลักล้าน ถ้าคุณไม่สามารถประเมินจำนวนเบื้องต้นได้ก็อาจจะยากในการทำราคา หากคุณกะจำนวนไม่ถูกสามารถให้เป็นระยะเมตรแทนได้ เพราะร้านค้าจะคำนวณจำนวนซื้อจากระยะทางที่คุณต้องต่อท่อได้ครับ


สุดท้ายนี้ถ้าทุกคนเข้าใจวิธีดูราคากันแล้ว ผมขอทิ้งข้อมูลราคากลาง และราคาหลังหักส่วนลดของท่อพีวีซีไว้นะครับ แน่นอนว่ามันเป็นราคาเบื้องต้นที่คุณต้องไปสอบถามคนออกแบบระบบเพื่อหาข้อมูลเพิ่มและถามร้านค้าเพื่อขอใบเสนอราคาอีกทีด้วย





หากสนใจอ่านข้อมูลเรื่องท่อเพิ่มเติม ผมแนะนำให้อ่านบทความด้านล่างดังนี้นะครับ

ข้อมูลท่อพีวีซีอื่นๆ

1,705 views0 comments

コメント


bottom of page