เชื่อว่าคนที่ต้องการซื้อท่อ PPRคงต้องมีคำถามในใจกันเยอะพอสมควรเกี่ยวกับการเลือกซื้อเพื่อให้ได้ท่อคุณภาพดีที่สุด
- ท่อ PPR ซื้อยังไงให้ได้คุณภาพนะ?
- อยากรู้วิธีเลือกซื้อท่อ PPR มาก ๆ เลย?
และคำถามอื่น ๆ อีกสารพัดเกี่ยวกับการเลือกซื้อท่อประเภทนี้ นั่นจึงเป็นต้นเรื่องที่อยากนำเสนอเกี่ยวกับการเลือกซื้อท่อ PPRอย่างถูกต้องเพื่อจะได้นำไปใช้งานตามคุณภาพและความเหมาะสม รับรองว่าไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดอีกทั้งยังเป็นความรู้ที่สามารถบอกต่อกันได้ด้วย
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับท่อ PPR กันก่อน ท่อ PPR เป็นท่อที่ถูกผลิตขึ้นมาจากเม็ดพลาสติกโพลีโพรไพลีน ตามแบบการจัดเรียงที่ไม่ได้เจาะจงเอาไว้
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ท่อดังกล่าวนิยมนำไปใช้งานเกี่ยวกับระบบของท่อประปา, ท่อน้ำเย็น, ท่อน้ำร้อน รวมถึงงานท่อในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม รองรับอุณหภูมิได้สูงมาก ทนต่อแรงดันได้ดีกว่าท่อปกติ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แถมยังมีรูปแบบการติดตั้งแสนง่ายดาย จึงกลายเป็นท่อที่ได้รับความนิยมกันนั่นเอง
คู่มือก่อนการเลือกท่อ PPR รู้เอาไว้ช่วยให้ได้ท่อที่ดี
แม้ว่าท่อ PPR จะมีคุณสมบัติที่ดีเมื่อนำมาใช้งาน แต่อย่าลืมว่าหากเลือกท่อไม่ได้มาตรฐานโอกาสจะเกิดความเสียหายย่อมมีสูงตามไปด้วยเช่นกัน จึงอยากแนะนำคู่มือก่อนการเลือกท่อ PPR ที่ควรรู้เอาไว้ จะช่วยให้ได้ท่อคุณภาพมาตรฐานนำมาใช้งานได้ตรงตามที่วางแผนไว้
ในส่วนนี้ผมมี 8 ขั้นตอนที่ช่วยให้คุณเลือกซื้อท่อ PPR ได้อย่างสบายใจ ได้ท่อคุณภาพดี แถมสบายกระเป๋า
1. ตัวท่อด้านนอกต้องระบุระยะเวลาของการให้ความร้อนซึ่งจะอยู่ตรงสันท่อทุก ๆ เส้น ทั้งนี้จะทำให้การติดตั้งง่ายยิ่งกว่าเดิม ไม่พบเจอกับปัญหาเรื่องท่ออุดตันจากการหลอมท่อและข้อต่อนานเกินความจำเป็น
2. เน้นเรื่องบริการหลังการขาย ทั้งเรื่องรับประกันสินค้าและบริการด้านอื่น ๆ เมื่อซื้อท่อ PPR ไปใช้งาน ควรเลือกแบรนด์หรือร้านที่มีป้ายการันตีชัดเจน มีทีมงานระดับเชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาทั้งเรื่องของสินค้า การติดตั้ง การใช้งานที่เหมาะสม
3. แบรนด์ดีย่อมมีชัยมากกว่าครึ่ง สินค้าทุกชนิดรวมถึงท่อ PPR หากเลือกแบรนด์ที่มีคุณภาพดีจะช่วยให้มั่นใจได้ว่างานที่ออกมาจะได้มาตรฐาน ไม่พังเสียหายหรือชำรุดง่ายเกินไป
4. แนะนำว่าควรเลือกท่อ PPRแบบมีท่อกับข้อต่อให้หลากหลาย (ซึ่งมีกว่า 500 ชนิด) เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อกับท่อแบบอื่น ๆ ได้ทุกประเภท
5. มาตรฐานการรับรองเป็นอีกเรื่องสำคัญห้ามมองข้ามเด็ดขาด ควรเลือกท่อ PPRที่ผ่านการรับรองจากสเปน, เยอรมนี รวมถึงอังกฤษ เพื่อให้มั่นใจว่าท่อเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบด้านความสะอาดและความปลอดภัยมาเรียบร้อยแล้ว
6. ไม่ว่าจะเป็นตัวท่อหรือข้อต่อควรเลือกแบบที่ผลิตจากโรงงานเดียวกันสำหรบัใช้ติดตั้ง เนื่องจากการเลือกที่ผลิตแห่งเดียวนี้จะทำให้การเชื่อมต่อผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ง่าย ไม่มีรอยรั่วหรือรอยสังเกตทำให้การใช้งานเกิดปัญหา
7. วิธีเลือกท่อ PPRกับข้อต่อที่ได้คุณภาพควรเลือกแบบที่ถูกผลิตด้วยเม็ดพลาสติกของยุโรป เนื่องจากจะมีอายุใช้งานได้ยาวนานมาก ๆ (ระดับ 50 ปี เลยทีเดียว)
8. ระดับความแข็งแรงทนทานต้องถูกต้องตามหลักวิศวกรรม มีความทนทานต่อแรงดันน้ำที่เกิดขึ้นภายในท่อ รวมถึงแรงกระแทกจากภายนอกด้วย
นี่เป็นคู่มือง่าย ๆ ที่ใช้สำหรับการเลือกท่อ PPR สำหรับติดตั้งงานวางท่อต่าง ๆ แม้จะดูมีขั้นตอนเลือกเยอะเสียหน่อยแต่อย่าลืมว่าเมื่อเสียเงินไปแล้วย่อมต้องการได้ของคุณภาพดีที่สุด วิธีเลือกเหล่านี้จึงเป็นวิธีที่มั่นใจได้อย่างแน่นอนว่าคุณจะได้ท่อระดับมาตรฐาน ใช้งานแล้วได้ผลลัพธ์เกินคาดจากเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้แน่นอน
ท่อ PPRสามารถทนแรงดันได้กี่บาร์
เรื่องต่อมาที่อยากพูดถึงคือ การทนต่อแรงดันของท่อ PPR รวมถึงการคำนวณระยะเวลาที่สามารถใช้งานได้ว่ามีความยาวนานทั้งหมดกี่ปี ตรงนี้อาจต้องใช้เรื่องของการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้องแต่เราพร้อมบอกวิธีและสูตรให้เข้าใจง่ายขึ้น
ซึ่งการคำนวณที่ว่านี้ใช้หาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง อุณหภูมิที่ใช้งาน กับ แรงดันที่ควรใช้อย่างเหมาะสม โดยสูตรการคำนวณที่ถูกต้องคือ
Ov = P x C (De – e) /2e
Ov = hoop stress (Hydrostatic stress) in Mpa
โดยที่
P = max. working pressure in Mpa (ความดัน ใน MPa)
De = outside diameter of the pipe in mm. (เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก เป็น มม.)
e = wall thickness of pipe in mm. (ความหนาของท่อ เป็น มม.)
C = security coefficient (safety factor) (ค่าเฉพาะของท่อ)
หลักการง่ายๆก็คือการหาค่า Ov ที่เป็นตัวบอกว่าท่อจะรับแรงดันได้เท่าไรกันแน่
คราวนี้ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณที่ถูกต้อง สมมุติกรณีมีความต้องการใช้ท่อน้ำร้อนระดับ 70C ระดับแรงดันต่อเนื่องราว ๆ 8 บาร์ หรือ 0.8 Mpa หากเลือกท่อ PPR ประเภท SDR 6 (PN20) มีขนาดเท่ากับ 110 mm. แบบนี้จะสามารถใช้งานได้ระยะเวลาเกิน 50 ปีตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่
P = 0.8 De = 110 e = 18.3 C = 1.5
Ov = 0.8 x 1.5 (110 – 18.3) / 2 x 18.3
= 3.00 Mpa
ซึ่งถ้าหากมีการเทียบตาราง Long-Term Behavior of PPR pipes จะเท่ากับว่าท่อตัวนี้สามารถใช้งานได้ยาวนานเกิน 50 ปี นั่นเอง เป็นสูตรคำนวณที่อาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาสักหน่อยแต่จริง ๆ หากลองศึกษาอย่างเข้าใจก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรมากมายนัก
ปัญหาก็คือท่อแต่ละเส้นไม้ได้มีการบอกชั้นความดันชัดเจนเหมือนท่อ PVC
ท่อ PPRทนความร้อนได้เท่าไหร่
ถ้าเป็นท่อ PPRที่ได้มาตรฐานทั่วไปจะสามารถทนต่อความร้อนได้สูงถึง 95 องศาเซลเซียส รับแรงดันได้สูงสุด 20 บาร์ อย่างไรก็ตามยังขึ้นอยู่กับยี่ห้อของท่อนั้น ๆ ค่า SDR (อัตราส่วนระหว่างเส้นผ่าศูนย์กลางตรงนอกท่อ / ความหนานอกท่อ ลางตรงนอกท่อานอนั้น ๆ ย่างไรก็ตามยังขึ้นอยและค่า PN หรือชั้นความดัน เช่น
- ยี่ห้อ SCG / THAI PP-R / SYLM แบบท่อ PN10 (SDR11) Standard ทนอุณหภูมิได้ 3-60 องศาเซลเซียส
- ยี่ห้อ SCG / THAI PP-R / SYLM แบบท่อ PN20 (SDR6) High Pressure ทนอุณหภูมิได้ 3-95 องศาเซลเซียส
- ยี่ห้อ THAI PP-R / SYLM แบบท่อ PN20 (SDR6) Fiber Composite ทนอุณหภูมิได้ 3-95 องศาเซลเซียส
- ยี่ห้อ SYLM แบบท่อ PN10 (SDR11) Antibacterial ทนอุณหภูมิได้ 3-60 องศาเซลเซียส
- ยี่ห้อ THAIPP-R แบบท่อ PN20 (SDR6) Aluminium Composite ทนอุณหภูมิได้ 3-95 องศาเซลเซียส
มาตรฐานการติดตั้งท่อ PPR
สำหรับการติดตั้งท่อ PPR มักเลือกใช้แบบ เชื่อมสอด หรือ Socket Fusion สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษมาก ๆ หากเลือกใช้วิธีนี้คือ ระดับความร้อนต้องอยู่ราว ๆ 250-260 องศาเซลเซียส เพราะอุณหภูมิระดับนี้จะช่วยให้บริเวณข้อต่อและตัวท่อมีการหลอมเหลว จนสามารถผสานลงตัวให้กลายเป็นเนื้อเดียว ป้องกันการรั่วซึม ชำรุดระหว่างใช้งาน
ความพิเศษของการติดตั้งแบบ เชื่อมสอด คือ ไม่จำเป็นต้องใช้กาว น้ำยาประสาน หรือสิ่งอื่นใดในการทำให้ท่อกับข้อต่อเชื่อมติดกัน จึงเกิดความปลอดภัย ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน หรือถ้าหากต้องมีการซ่อมแซมท่อต่าง ๆ เช่น ท่อประปา จะไม่มีสารเคมีปนเปื้อน รวมถึงไม่ทำให้เกิดควัน กลิ่น ประกายไฟ อันจะทำให้เกิดความโกลาหลขึ้นมาได้
ส่วนในเรื่องของการติดตั้งแบบซัพพอร์ท จะต้องให้ความใส่ใจกับเรื่องอุณหภูมิของการติดตั้งและอุณหภูมิที่ใช้งานจริง โดยสามารถแยกรายละเอียดออกได้ดังนี้
- หากเลือกใช้การเดินท่อเมนแล้วมีการต่อท่อสาขาออกไป ตัวซัพพอร์ทจะต้องมีการรัดบริเวณใต้ข้อต่อดังกล่าวเอาไว้เสมอ
- หากมีการเปลี่ยนทิศทางของท่อ วาล์ว หรือหน้าแปลนเกิดการต่อ ตัวซัพพอร์ทจะต้องทำการรัดเอาไว้บริเวณใกล้ข้อต่อมากที่สุด
- หากเลือกทำ Expansion Loop ห้ามลืมเด็ดขาดคือให้กำหนดจุดรัดซัพพอร์ทแบบแน่นหนามากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องมีจุดรัดซัพพอร์ทที่สามารถขยับได้ด้วย เหตุผลก็คือ เป็นการรองรับกรณีเกิดยืดตัว ซึ่งตรงนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะให้คำแนะนำเอาไว้อยู่แล้ว
มาตรฐานการติดตั้งท่อ PPRที่สำคัญต้องใส่ใจเรื่องของอุณหภูมิให้ดี เพราะนี่เป็นปัจจัยที่มีผลกับการติดตั้งระยะซัพพอร์ทบริเวณท่อ
สมมุติว่าถ้าใช้น้ำที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ ซัพพอร์ทที่ทำออกมาต้องอยู่ในระยะชิดมากกว่าการเลือกใช้อุณหภูมิของน้ำแบบปกติ ด้วยเหตุนี้เองการสังเกตอุณหภูมิน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ต้องมีการพิจารณาให้เกิดความเหมาะสมในทุกครั้งเมื่อต้องทำระยะซัพพอร์ทกับตัวท่อ
นอกจากเรื่องของการเลือกท่อ PPR ให้เหมาะสมแล้ว สิ่งสำคัญคือมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ผู้ติดตั้งจำเป็นต้องรู้ด้วย อย่าลืมว่างานลักษณะนี้หากเกิดความผิดพลาดขึ้นจะทำให้มีผลกระทบในหลายภาคส่วน ทั้งคนที่ติดตั้งเอง, ผู้ใช้งานท่อ และคนอื่น ๆ ที่อาจไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรง
บทสรุปของท่อ PPR
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของท่อ PPRนับเป็นเรื่องน่าสนใจและคนที่กำลังต้องการความรู้ด้านนี้คงจะทำให้ได้คำตอบที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยความที่ท่อ PPR เป็นประเภทท่อยอดนิยมในการใช้งานหลาย ๆ ด้าน ดังนั้นการมีความเข้าใจในเรื่องนี้จะช่วยให้เลือกใช้งานท่อได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดประเภท แถมยังรู้วิธีติดตั้งที่เหมาะสม เป็นการสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้จริง แถมยังสามารถใช้งานได้ยาวนานอีกหลายสิบปี
Comments